วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ธรรมะสไมล์

โปรดลดความเลว    ข้างหน้าเป็นนรก...นะโยม
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

นี่หรือคือบวช....
เพียงโกนหัว  ห่มจีวร แล้วนอนวัด   ไม่ปฏิบัติตามสิกขาน่าบัดสี
บวชเอาบุญแต่ได้รับความอัปรีย์  บวชเท่านี้อย่าทำเลยเสวยกรรม..

ฉันเช้าเสร็จตาชักลายส่ายโงนเงน  ต้องขอเอนหลังพักสักครู่ก่อน   หลับสักหน่อยคงชื่นใจหายอาวรณ์  ไว้ตื่นนอนล้างหน้ามาท่องมนต์  หลับได้หน่อยยินแว่วเสียงกลองเพล  กระโดดเผ่นไปล้างหน้าโกลาหล  ฉันเพลเสร็จเดินถือหนังสือมนต์  แย่เหลือทนพอท้องแน่นแสนรำคาญ  ตัดสินใจเอาหนังสือเก็บไว้ก่อน  ต้องขอนอนสักหน่อยย่อยอาหาร  ขืนท่องไปก็คงไม่ได้การ  น่ารำคาญท่องเท่าไหร่ก็ไม่จำ  ตกตอนบ่ายกลุ้มอุราอากาศร้อน  ต้องขอนอนสักหน่อยคอยตอนค่ำ  เมื่อแดดร่มลมตกคงท่องจำ  ไว้ตอนค่ำท่องก็ได้เป็นไรนี่  ห้าโมงเย็นเสียงระฆังดังเร็วถี่  ได้เวลาทำวัตรแล้วหรือนี่  ทำวัตรเสร็จแม้หูตาพร่าเต็มที่   ไว้พรุ่งนี้ท่องดีกว่าครับอาจารย์....
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ประจำวันที่๓ มิย ๕๗.--ศีลธรรมไม่มีวันเสื่อม  คนต่างหากที่เสื่อมจากศีลธรรม..ฃ
--เกิดในที่...ที่ดี....นั้นดีแน่,  เกิดในที่..ที่แย่...ก็ดีได้,  เกิดในที่..ที่ดี..แล้วแย่..มีถมไป,
  เกิดที่ไหน..ก็ดีได้..ถ้าไฝ่ดี..
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐ 

ประจำวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๗

พิธีกรชื่อดังเข้าวัด
อยากเห็นทุกหมู่บ้านเป็นอย่างนี้จัง


จากใจพระ
ขอโทษ   นะสีกา  อย่าว่าบ่น
 พระก็คน จากชาวบ้าน เหมือนกันหนา
ตอนนี้บวช   ตามคำสอน    พระศาสดา
ขอสีกา    ให้ระวัง    เครื่องแต่งกาย
   เข้ามาวัด ต้องหัดแต่ง มิดชิดหน่อย   อย่าใส่น้อย  แบบประหยัด  ไม่เข้าท่า
น้ำหอมนั้น    ไม่จำเป็น    อย่าโปะมา
ถ้าจะทา    ขอให้พอ    ดับกลิ่นกาย
                         ชายกระโปรง    จงให้ต่ำ    กว่าหัวเข่า
    คอเสื้อเว้า    อย่ามากไป    อย่าหวือหวา
  พระเณรเห็น    เดี๋ยวจะเกิด    สะดุดตา
จนประหม่า    พากันเดิน    สะดุดตอ
                            เดินสะดุด     นั้นก็คง    ไม่เท่าไหร่
      กลับเก็บไป    พิจารณา    ว่าขาวหนอ
ว่าจะอยู่    เอาพรรษา    เลยไม่รอ

         อาตมาขอ    บิณฑบาต    เถิดญาติโยม......
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐
ประจำวันที่..๒๙ มิถุนายน ๒๕๕๗
...เราอาจจะไม่เห็นคุณค่าของอะไรกระทั่งสูญเสียมันไป..ทำวันนี้ให้ดี..ถึงจะไม่ที่สุดก็ยังมีดี...
ประจำวันที่ ๗ สิงหาคม  ๒๕๕๗ 
....ยอมหยุดเย็น  ยอมไม่เป็นก็เย็นไม่ได้  ยอมเป็นเย็นสบาย  ..ในบางครั้งการสร้างต้องเริ่มด้วยการทำลาย.
ประจำวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๗
....ศีลห้ามิใช่ข้อบังคับ ของพระพุทธศาสนิกชน เป็นแต่เพียงคำแนะนำให้ยึดถือเท่านั้น.
...เราอาจจะไม่เห็นคุณค่าของอะไรกระทั่งสูญเสียมันไป.
...วัดสะอาดเพราะกวาดฉันถู  วัดน่าอยู่เพราะฉันถูเธอกวาด  วัดไม่สะอาดเพราะฉันกวาดเธอยืนดู  วัดไม่น่าอยู่เพราะเธอยืนดูฉันกวาด.
ประจำวันที่๒๑-๑๐-๕๗ 
....คำค่าล้นขดขอดเป็นแหวน สีแดงสุกก็เพราะมีหัวแก้ว  คือคนเฮานั่นมีดีหลายอย่างกิริยาซอยยู้ซูขึ้นจั่งค่อยเฮือง..
....คาดสิล้มบ่มีขี้ตมกะจำหมื่น  คาดสิล้มหยุมหญ้าไว้กะบ่ฟัง.
    

ติดต่อ

วัดบ้านป่าชาด   ๓๐ หมู่ที่ ๙   ตำบลมิตรภาพ  อำเภอแกดำ  จังหวัดมหาสารคาม  ๔๔๑๙๐
โทร. ๐๘-๔๗๐๒-๗๓๒๙ Watbanpachad 30 Moo 9 Mittraphap Kae Dum Maha Sarakham THAILAND 44190
[ Watbanpachad@gmail.com ]

การบริหารจัดการ

ระเบียบวัดบ้านป่าชาด
ว่าด้วยข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุ – สามเณร ภายในวัดบ้านป่าชาด
พุทธศักราช  ๒๕๕๗
-----------------------------------------
                     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗ และมาตรา ๓๘  แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๓๕ ว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของเจ้าอาวาส  จึงได้วางระเบียบไว้ดังนี้
               ข้อ ๑  ระเบียบวัดบ้านป่าชาดนี้เรียกว่า “ระเบียบวัดบ้านป่าชาด ว่าด้วยข้อปฏิบัติสำหรับพระภิกษุสามเณรภายในวัด  พุทธศักราช  ๒๕๕๗ “
            ข้อ ๒ ระเบียบวัดบ้านป่าชาด  ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
หมวดที่ ๑
           ข้อ ๓  พระภิกษุ – สามเณรภายในวัดบ้านป่าชาด  ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๕๐๕  กฎมหาเถระสมาคม ข้อบังคับ  ระเบียบของมหาเถระสมาคมโดยถ่องแท้  เพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้องและเหมาะสม (ถ้าแสวงหาเพื่อมีไว้เองเป็นการดี)
          ข้อ ๔ ระเบียบนี้กำหนดให้พระภิกษุ – ภายในบริเวณวัดบ้านชาด  ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
           (๔.๑) ต้องลงทำวัตรเช้า –เย็น ที่พระอุโบสถเป็นประจำทุกวัน  ถ้ารูปใดจาดเกิน ๓ วันติดต่อกัน  ต้องรายงานให้เจ้าอาวาสทราบ (ยกเว้นผู้ที่ทำกิจของวัดและผู้ที่ได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษ)
           (๔.๒) ต้องท่องจำบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า – เย็นและบทสวดท้ายทำวัตรเช้า – เย็นได้
           (๔.๓)  ต้องลงฟังสวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน  (ภายในพรรษา) เว้นแต่อาพาธหรือมีเหตุจำเป็นอื่น
           (๔.๔) ในวันธรรมสวนะ หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่มีการบำเพ็ญบุญที่ศาลาการเปรียญ หรือพิธีเวียนเทียนที่พระอุโบสถ  หรือศาลาการเปรียญ จะต้องลงไปร่วมด้วยทุกครั้ง
           (๔.๕) เวลาออกนอกกุฏิ  แม้ภายในบริเวณวัด  ต้องนุ่งห่มจีวรให้เรียบร้อย (เว้นแต่ไปทำงานในวัด)
           (๔.๖) ห้ามเดินสูบบุหรี่  ถ่มน้ำลาย  ขากเสลด  หัวเราะลั่น  พูดเสียงดัง ตามที่สาธารณะภายในบริเวณวัด
           (๔.๗) อย่าเปิด ทีวี – วิทยุ   ดูหรือฟัง สิ่งที่ไม่เป็นสาระ เป็นข้าศึกต่อกุศล  หรือดังเกินไปจนคนอื่นเกิดความรำคาญ
           (๔.๘) ไม่เล่นหรือออกกำลังกายอย่างคฤหัสถ์ เช่น เตะตระกร้อ  ฟุตบอล ชกมวย เป็นต้น  ถ้าจะออกกำลังกายควรหาวิธีที่เหมาะสมแก่สมณสารูป
           (๔.๙) ต้องช่วยกันดูแลรักษาสมบัติของวัด รักษาความสะอาดภายในกุฏิของตนเอง  และภายในบริเวณวัด  เมื่อมีงานพิธีต่างๆเกิดขึ้นในวัดต้อง จะต้องรักษาความสะอาดมากขึ้นเป็นพิเศษ
           (๔.๑๐) จะออกนอกวัดทุกครั้งต้องลาเจ้าอาวาส  หรือบอกลาเจ้าอาวาสพระผู้ใหญ่ที่เจ้าอาวาสมอบหมาย  เว้นแต่ไปบิณฑบาต
           (๔.๑๑) การห่มผ้า  * ให้ใช้ผ้าสีพระราชนิยมเหมือนกันทุกรูป
                             * อยู่ภายในวัด เมื่อมีกิจของสงฆ์ ให้ห่มดอง  เมื่ออยู่ปรกติห่มเฉวียงบ่า
                             * เมื่อออกนอกวัดให้ห่มคลุม  (ห่มดองสำหรับพระใหม่)
          (๔.๑๒) คนแลกวัด (คือพ่อค้าเร่ที่ขายของตามวัด) ห้ามไม่ให้เข้ากุฏิ ภิกษุ –สามเณร ต้องการอะไรให้ปฏิบัติตามวินักกรรมที่กุฏิหรือที่ศาลารับรองแขก  สำหรับญาติโยมที่มาพบให้ปฎิบัติเช่นเดียวกัน
           (๔.๑๓) ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน  สามเณรทุกรูปจะต้องเข้าประชุมเพื่อสมาทานศีล  และรับฟังโอวาทจากพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสด้วย

หมวดที่ ๒
           ข้อ ๕ พระภิกษุ – สามเณร   วัดบ้านป่าชาด ต้องศึกษาพระปริยัติธรรมทดสอบความรู้จนกว่าจะได้ภูมิความรู้นักธรรมชั้นเอก  โดยจะต้องเข้าเรียนในห้องเมื่อถึงกำหนดการเรียน  และการสอบประจำปี
             ข้อ ๖ พระภิกษุผู้บวชใหม่ และมีความประสงค์จะอยู่นานเกินกว่า ๑ พรรษาขึ้นไป  ควรที่จะเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางที่ถูกต้อง
           ข้อ ๗ สำหรับสามเณรทุกรูปจะต้องศึกษาเล่าเรียนตามที่ทางวัดกำหนด ( เว้นแต่มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย)
หมวดที่ ๓
           ข้อ ๘ พระภิกษุ – สามเณรทุกรูปต้องพักอาศัยในที่ทางวัดกำหนดให้เท่านั้น  ถ้าจะมีการย้ายสถานที่พัก  ต้องแจ้งให้พระภิกษุผู้รับผิดชอบทราบก่อน  และห้ามมิให้ดัดแปลงหรือต่อเติมสถานที่พักโดยพลการ และจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกิจวัตรในแต่ละวัน
           ข้อ ๙ พระภิกษุ- สามเณร ก็ดี  คฤหัสถ์ชนก็ดี  มาขอพักกับภิกษุ – สามเณรรูปใด  ในภิกษุ –สามเณรที่เป็นเจ้าของกุฏิพัก  แจ้งกับเจ้าอาวาสเพื่อขออนุญาตภายในวันนั้น
           ข้อ ๑๐  พระภิกษุ – สามเณรที่ย้ายเข้าอยู่ใหม่  ต้องมีหนังสือสุทธิถูกต้อง ตามระเบียบของทางคณะสงฆ์
หมวดที่ ๔

           ข้อ ๑๑ พระภิกษุที่มีลูกศิษย์คอยปรนนิบัติอยู่ (ต้องได้รับอนุญาตเท่านั้น) ต้องคอยหมั่นอบรมสั่งสอนศิษย์ให้ประพฤติตนถูกต้อง  และเหมาะสมมิให้กระทำความเสียหายให้เกิดแก่ส่วนรวมได้
           ข้อ ๑๒  สัทธิวิหาริก / อันเตวาสิก  ผู้มีพรรษายังไม่พ้น ๕ พรรษา  จะไปอยู่วัดอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าอาวาสก่อน
          ข้อ ๑๓ พระภิกษุสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอาศัยอยู่ในวัดแล้ว  จันเป็นอันเตวาสิก ที่จะต้องถือนิสสัยอยู่ในการปรกครองดูแลของเจ้าอาวาส  และได้รับอนุญาตให้ย้ายสุทธิเข้ามาอยู่ในสังกัดวัดบ้านป่าชาดได้หลังจากที่ได้รับการพิจารณาว่าเห็นสมควร
          ข้อ ๑๔ พระภิกษุ – สามเณรที่ศึกษาเล่าเรียน  เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหรือมีหน้าที่ทำกิจการของวัดสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลที่จำเป็นได้  ตามที่เห็นสมควรของเจ้าอาวาส
          ข้อ ๑๕ พระภิกษุ – สามเณร ที่มาอยู่ใหม่  หรือได้รับการบรรพชา – อุปสมบท  จะต้องแจ้งประวัติกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนของทางวัดไว้ด้วย

หมวดที่  ๕

          ข้อ ๑๖ พระภิกษุ – สามเณร ฝ่าฝืนระเบียบวัดบ้านป่าชาดนี้  ให้ถือว่าละเมิดคำสั่งของเจ้าอาวาสมีความผิดต้องได้รับการพิจารณาโทษตามลำดับดังนี้
                      ** ตำหนิโทษไม่เกิน  ๒  ครั้ง
                      ** ลงทัณฑกรรม ตามที่คณะกรรมการจะพิจารณาสั่งลงทัณฑกรรม
                      ** ขับให้ออกจากวัดภายในเวลาที่กำหนด


                               

                                                   ประกาศ ณ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๙ เดื อน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗
  




                                                           (พระณัฐพล  ฐานิโย)

                                                          รักษาการเจ้าอาวาสวัดบ้านป่าชาด

ประวัติวัด

ประวัติวัดบ้านป่าชาด
วัดบ้านป่าชาด  ตำบลมิตรภาพ  อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม  ตามประวัติความเป็นมาที่ได้รวบรวมในวันที่ ๒๔พฤษภาคม  ๒๕๕๗
การจัดตั้งวัดไม่ได้มีบันทึกไว้เป็นที่ชัดเจนแน่นอน ว่าจัดตั้งในปีพุทธศักราชที่เท่าไหร่  อาศัยแต่ความเล่าสู่กันฟังปากต่อปากจากบรรพบุรุษ  และคนเฒ่าคนแก่มาจนถึงปัจจุบัน  จึงรวมความได้ว่า
บ้านป่าชาด แต่เดิมได้รวมอยู่กับบ้านตาหลุง ต่อมาประมาณพุทธศักราช  ๒๒๗๕ ได้มีชาวบ้านประมาณ ๔ ครอบครัว โดยการนำของ ตาโพน  ละหาน  และยายคำ  สามีภรรยา  พร้อมทั้งคุณยายหมิด คุณยายจิ้ม  ได้แยกออกมาจากบ้านตาหลุง  มาจัดตั้งบ้านใหม่ชื่อว่า “บ้านป่าชาด” ด้วยเหตุที่บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นชาด และประมาณพุทธศักราช ๒๔๘๐ นายสุข  ฉายาพัฒน์ เป็นผู้ใหญ่บ้านได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง  นามว่า “พระครูสี”เดินทางมาพักที่หมู่บ้าน  ซึ่งชาวบ้านมีความศรัทธา ผู้ใหญ่บ้านกับลูกบ้านจึงได้ปรึกษาหารือกัน  ได้ถวายที่ดินเพื่อจัดตั้งวัด และได้อาราธนานิมนต์พระคุณท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ 
  ต่อมาประมาณปีพุทธศักราช  ๒๔๘๒  พระครูสี  พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้ขอจัดตั้งวัดอย่างเป็นทางการโดยใช้ชื่อว่า “วัดบ้านป่าชาด” ฝ่ายมหานิกาย คามวาสี (วัดบ้าน) พระครูสี ท่านเป็นพระที่น่ายกย่องมีจริยวัตรที่งดงาม ท่านมีความขยันขันแข็งท่านได้ปลูกต้นไม้ในบริเวณวัดไว้มากมาย ด้วยหวังว่าจะให้วัดเป็นอารามที่มีความร่มรื่น เช่นต้นฝรั่ง  มะพร้าว หมาก  สมอ และพืชผักสวนครัว เป็นต้น

   ต่อมาอีกหลายปี พระครูสี ท่านได้ลาจากวัดบ้านป่าชาด  เพื่อที่จะธุดงค์จาริกแสวงหาธรรมต่อไปอีก  โดยมี หลวงพ่อลี  วงค์สะอาด  ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแทนประมาณ ๒๕ ปี ท่านจึงได้ลาสิกขา  ต่อมาหลวงพ่อบุญมี  คำสีแก้วดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสอีก  ๒๗  ปีท่านจึงได้ลาสิกขา หลังจากนั้น หลวงพ่อบุญมี  ฐานุตฺตโร(รักภักดี)รักษาการเจ้าอาวาสอยู่ ๘ ปี  จึงได้ลาสิกขาประมาณปลายเดือน เมษายน ๒๕๕๖  วัดบ้านป่าชาดจึงได้ว่างเว้นพระอยู่ประมาณ ๑ เดือน จึงได้มีพระเดินทางมาจาก  อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ นามว่า พระณัฐพล  ฐานิโย  (อนันทวรรณ) ได้เดินทางมาวัดบ้านป่าชาด ขณะนั้นจะมีอุบาสกประสงค์จะอุปสมบทในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๖  จำนวน ๖  คน  ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่รับการเข้าฝากตัวของอุบาสกให้ขึ้นชื่อว่า “นาค” และอยู่ประจำวัดแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน...(บันทึก ๒๘ พ.ค. ๒๕๕๗)

เสนาสนะ

ศาลาใหญ่ ขนาด  ๑๘ คูณ  ๒๐  เมตร( ซึี่งยังไม่แล้วเสร็จ)





ต้นอัสสัตถพฤกษ์  (ต้นโพธิ์)
ต้นไม้ภูมิเจ้าที่ขนาดใหญ่ภายในบริเวณวัด
ศาลาพุทธชาดไทย ( ศาลา-พุทธศาสนา-บ้านป่าชาด-ประเทศไทย)
คลีนิคเติมบุญรักษาใจ, สถานที่ปฏิบัติธรรม, ศูนย์อบรมเยาวชน-ข้าราชการ-ประชาชนทั่วไป, (ยกเว้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับของมึนเมา ไม่ว่าใครก็ไม่ให้ใช้สถานที่)



ช่างกำลังวาดภาพเหมือน.รูปหลวงปู่ผาย สวรรค์และนรก, เจริญพรเรียนเชิญเป็นเจ้าภาพ ๕๐ ท่านๆละ ๑,๐๐๐บาท
( ตอนนี้ท่านอาจจะแข็งแรง มีกำลังกาย มีกำลังทรัพย์  มีครอบครัวที่ดีและอบอุ่น   แล้วธนาคารบุญของท่าน มีเพียงพอที่จะข้ามไปวัฏฏะหน้าหรือยัง)









มุมพักผ่อน--พิจารณาสังขาร


มุมผ่อนคลาย - พักผ่อน

กุฏิหลังที่ ๑




หอกลอง,หอระฆัง

(รอการปรับปรุงซ่อมแซม , รับศรัทธาจองเป็นเจ้าภาพ)



กุฏิหลังที่ ๒



กุฏิหลังที่ ๓


ศาลาโรงครัว -- ห้องเก็บของ
ศาลามหาประมาณ , สถาที่ประกอบภัตตาหาร









ห้องสุขา ขนาด ๖ ห้อง... ผู้สูงอายุ ๑ ห้อง,หญิง ๓ ห้อง,  ชาย  ๒ ห้อง

กำลังก่อสร้างเพิ่ม ๓ ห้อง เพื่อรองรับพระเถระ และพระภิกษุสามเณร   เจ้าภาพโดย คุณแม่ลำปาง ปิตาระเต พร้อมครอบครัว








ศาลาพุทธชาดไทย